เมนู

[290] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทั้งหลายที่ควรกำหนดรู้
คืออะไร ? ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือรูป... คือเวทนา...
คือสัญญา... คือสังขาร. ธรรมที่ควรกำหนดรู้คือวิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเหล่านี้ เราตถาคตเรียกว่า ปริญเญยยธรรม.
[291] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำหนดรู้คืออะไร ? คือ
ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ปริญญาธรรม.
[292] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้คือใคร ?
บุคคลผู้กำหนดรู้นั้น ควรกล่าวว่า คือพระอรหันต์ ซึ่งได้แก่ท่านผู้มีชื่อ
อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า
ปริญญาตาวีบุคคล.
จบ ปริญเญยยสูตรที่ 4

อรรถกถาปริญเญยยสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในปริญเญยยสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริญฺเญยฺเย ได้แก่ ธรรมทั้งหลาย ที่พึงกำหนดรู้ คือ
พึงก้าวล่วง.
บทว่า ปริญฺญํ ได้แก่ กำหนดรู้ด้วยการก้าวล่วง.
บทว่า ปริญฺญาตาวึ ได้แก่ บุคคลผู้กำหนดรู้แจ้งก้าวล่วงอยู่
ด้วยปริญญานั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงพระนิพพาน ด้วยบทว่า
ราคกฺขโย เป็นต้น.
จบ อรรถกถาปริญเญยยสูตรที่ 4

5. สมณสูตรที่ 1



ว่าด้วยผู้ไม่ควร และผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์



[293] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์เหล่านี้
มี 5 อย่าง. 5 อย่างคืออะไร ? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ทราบชัด คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
ของอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ตามความจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้1นั้น จะไม่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสมณะ
ในหมู่สมณะทั้งหลาย จะไม่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่
พราหมณ์ทั้งหลายเลย ทั้งท่านเหล่านั้น ก็จะไม่กระทำให้แจ้ง2 ซึ่ง
สามัญญผล หรือพรหมัญญผล ในปัจจุบัน เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง
เข้าถึงอยู่.
[294] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้ชัด คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์
ทั้ง 5 เหล่านี้ ตามความจริง. ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้
นั้นแล จะได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะทั้งหลาย และได้รับ
ยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งท่านเหล่านั้น
จะทำให้แจ้งสามัญญผล หรือพรหมัญญผล ในปัจจุบันทีเดียว เพราะ
รู้ยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่.
จบ สมณสูตรที่ 1
1. ปาฐะว่า นเมเต สันนิษฐานว่าจะเป็น น โขเมเต
2. ปาฐะว่า เต จ ปนายสฺมนฺโต สันนิษฐานว่าจะเป็น เต จ นายสฺมนฺโต